เมนู

ต้นไม้ หรือระหว่างแผ่นหิน. สมัยนั้น เมฆใหญ่ตั้งขึ้น มีฝนพรําดำมืดยิ่ง
ในขณะนั้นฝูงสัตว์มีมดดำเป็นต้นก็ล้อมเกาะเขารอบด้าน ด้วยเหตุนั้น ความ
ทุกข์กายมีกำลังจึงเกิดแก่เขา เมื่อคิดอยู่ว่า พวกญาติเท่านี้ และโภคทรัพย์เท่านี้
ฉิบหายแล้ว เพราะอาศัยเราคนเดียว ดังนี้ โทมนัสมีกำลังก็เกิดแก่เขา.
ความปรารถนานี้พึงทราบว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์
เหล่านั้นแม้ทั้ง 2 ด้วยประการฉะนี้.
อีกอย่างหนึ่ง
เมื่อสัตว์ปรารถนาวัตถุนั้น ๆ อยู่
เพราะไม่ได้วัตถุนั้น ๆ ความทุกข์อันใด ซึ่ง
เกิดแด่ความพลาดหวัง ย่อมเกิดแก่พวกสัตว์
ในโลกนี้ ความปรารถนาวัตถุที่บุคคลไม่พึง
ได้เป็นเหตุแห่งทุกข์นั้น เพราะฉะนั้น พระ
ชินพุทธเจ้าจึงตรัสความไม่ได้ตามความ
ปรารถนา ว่าเป็นทุกข์แล.


ว่าด้วยนิเทศอุปาทานขันธ์

(บาลีข้อ 157)
พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งอุปาทานขันธ์ ต่อไป
บทว่า สํขิตฺเตน (โดยย่อ) นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอา
เทศนา จริงอยู่ ใคร ๆ ไม่อาจย่อทุกข์ได้ เท่านี้เป็นทุกข์ร้อยหนึ่ง หรือว่า
เท่านี้เป็นทุกข์พันหนึ่ง แต่เทศนาอาจย่อได้ เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงย่อเทศนา
ว่า ขึ้นชื่อว่า ทุกข์ มิใช่อะไรอื่น โดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ดังนี้

จึงตรัสแล้วอย่างนี้. ศัพท์ว่า เสยฺยถีทํ เป็นนิบาต เนื้อความแห่งนิบาตนั้น
มีอธิบายว่า หากว่า มีผู้ถามว่า อุปาทานขันธ์ 5 เหล่านั้น เป็นไฉนดังนี้.
เนื้อความแห่งบทว่า รุปูปาทานกฺขนฺโธ (รูปูปาทานขันธ์) เป็นต้น ข้าพเจ้า
พรรณนาไว้แล้วในขันธวิภังค์แล.

พึงทราบอรรถแห่งขันธ์ทั้งหลายเป็นทุกข์


อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า พึงทราบอรรถแห่งขันธ์ ทั้ง
หลายว่าเป็นทุกข์ นี้ ต่อไป
ชาติปฺปภูติกํ ทุกฺขํ ยํ วุตฺตํ อิธ ตาทินา
อวุตฺตํ ยญฺจ ตํ สพฺพํ วินา เอเต น วิชฺชติ
ยสฺมา ตสฺมา อุปาทาน กฺขนฺธา สํเขปโต อิเม
ทกฺขาติ วุตฺตา ทุกฺขนฺเต เทสเกน มเหสินา

เพราะทุกข์มีชาติเป็นแดนเกิดอันใด
อันพระพุทธเจ้าผู้คงที่ตรัสไว้ในโลกนี้ และ
ทุกข์ใดที่มิได้ตรัสไว้ ทุกข์นั้นทั้งหมดเว้น
อุปาทานขันธ์ 5 แล้ว ย่อมไม่มี ฉะนั้น พระ-
มหาฤาษีพุทธเจ้า ผู้ทรงแสดงซึ่งที่สุดแห่ง
ทุกข์ จึงตรัสว่า โดยย่ออุปาทานขันธ์ 5 นี้
เป็นทุกข์แล.

จริงอย่างนั้น ชาติเป็นต้นเบียดเบียนอยู่ซึ่งอุปาทานขันธ์ 5 นั้นแหละ
โดยประการต่าง ๆ เหมือนไฟป่าเบียดเบียนเชื้อไฟ เหมือนเครื่องประหารเบียด
เบียนเป้า เหมือนเหลือบและยุงเป็นต้นเบียดเบียนโค เหมือนผู้เก็บเกี่ยวเบียด